banner_top2

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) มีอาการยังไง และมีวิธีรับมือยังไง ?

       ในยุคสมัยปัจจุบันการที่ต้องทำงานในออฟฟิศมักจะมีสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ อาทิเช่น การนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ไม่ได้ลุกไปไหนจนอาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ และมีอาการปวดควบคู่กันไป ซึ่งในประเทศไทย ประชากรถึงร้อยละ 60 ประสบปัญหาเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยรุ่นช่วงยี่สิบต้นๆ ดังนั้นข้อมูลนี้จึงจำเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการทั่วไปเหล่านี้

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร ?

เป็นโรคที่มักส่งผลกระทบต่อคนที่ทำงานในสำนักงาน เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่มักจะต้องนั่งทำงานในลักษณะนั่งโต๊ะและเก้าอี้เป็นเวลานานๆ จนก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสม ได้แก่ อาการปวดหรือกดเจ็บของกล้ามเนื้อ การยืดหยุ่นไม่ได้ และในบางครั้งความผิดปกติของการบาดเจ็บสะสมอาจก่อให้เกิดก้อนเล็กๆ ภายในกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้

อาการของออฟฟิศซินโดรม

       ท่าทางและความรู้สึกในการทำงานหรือการเคลื่อนไหวตามปกติ ที่อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น

  • อาการปวดเรื้อรัง ในที่นี้หมายถึงเมื่อกดลงบนจุดที่บอบบางในกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการปวดและกดทับในกล้ามเนื้อ และปวดที่ด้านหน้าของหัวเข่าและรอบๆ สะบ้าหัวเข่า 
  • อาการปวด ชา และรู้สึกเสียวซ่า มักจะเกิดขึ้นที่มือ ข้อมือ และแขน
  • นิ้วล็อค ทำให้เกิดอาการปวด ตึง และรู้สึกนิ้วล็อคหรือเมื่องอและยืดนิ้ว
  • การอักเสบของเส้นเอ็น ที่มักเกิดกับข้อศอก ข้อมือ นิ้ว ต้นขา และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  • ปวดหลัง หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณหลังซึ่งเกิดจากท่าทางที่ไม่ดี
  • อาหารไม่ย่อย รวมถึงท้องอืด ไม่สบาย คลื่นไส้ และเรอ

สาเหตุของการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม

         นอกจากการนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมนานๆแล้ว สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ Office Syndrome ที่พบบ่อย ได้แก่

  • การนั่งไขว่ห้าง การนั่งท่านี้เป็นเวลานานจะทำให้ขาข้างหนึ่งต้องรับน้ำหนักขาอีกข้างหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสภาพกระดูกสันหลัง
  • นั่งหลังค่อมหรือก้มตัวไปข้างหน้า  จะทำให้กระดูกสันหลังงอ ยิ่งถ้าอยู่ท่าเดิมไปนานๆ โดยไม่ขยับเลย จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง จนมีอาการเมื่อยล้าตลอดเวลา และกระดูกอาจคดงอผิดรูปถาวรได้
  • ยืนโดยทิ้งน้ำหนักไว้ที่ขาด้านหนึ่ง ทำให้น้ำหนักตัวกระจายตัวไม่เท่ากันระหว่างขาทั้งสองข้าง จึงเกิดการปวดเมื่อยและเป็นตะคริว
  • การสะพายกระเป๋าบนไหล่ข้างหนึ่ง จะก่อให้เกิดอาการปวดไหล่ตามมาและนำไปสู่อาการเรื้อรัง
  • การสวมรองเท้าส้นสูงมากกว่า 1.5 นิ้ว เพราะการใส่รองเท้าที่สูงเกินไปบ่อยๆ จะทำให้กระดูกสันหลังผิดแนวและทำให้ปวดหลังได้

วิธีรับมือกับอาการออฟฟิศซินโดรม

เมื่อรู้สึกมีอาการปวดเมื่อยแค่นวดอย่างเดียวคงยังไม่เพียงพอ แม้ว่าอาจบรรเทาอาการปวดได้ในช่วงแรก แต่อาการเดิมอาจกลับมาเป็นซ้ำหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป แทนที่จะแก้ไขเพียงเบื้องต้น การปรับตัวเองและสภาพแวดล้อมของคุณเองจะช่วยใหผลลัพธ์ได้ดีกว่าในระยะยาว

พฤติกรรมของคุณเอง เริ่มได้จาการพักสายตาจากคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่านั่งเวลาทำงานทุกๆ 20-30 นาที และยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกชั่วโมง หรืออาจจะลุกขึ้นและเดินไปรอบ ๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำก็จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคุณได้

พื้นที่ทำงานของคุณ เริ่มจากการตั้งคอมพิวเตอร์และแป้นพิมพ์หันเข้าหาคุณ ส่วนของหน้าจอควรอยู่เหนือเส้นขอบตาของคุณเล็กน้อย ควรเหลือพื้นบนโต๊ะให้คุณใช้เมาส์และขยับแขนได้สะดวก และคอมพิวเตอร์ควรจะอยู่ห่างจากตัวคุณในระยะช่วงแขน

จากที่กล่าวมา โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่หลายคนอาจหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถดูแลและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมตัวเอง และการปรับสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการแล้วถึงจะเริ่มทำ เพราะการดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ